เมนู

นิพพานและปฏิปทาเครื่องให้ถึงนิพพาน นี้ชื่อว่า ความอยู่เป็นผาสุก
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความผาสุก... ของภิกษุผู้เกลียด.

อธิบายคำว่า ภควา


[926] คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า ดูก่อนสารี-
บุตร
ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกพระเถระนั้นโดยชื่อ. คำว่า
ภควา เป็นเครื่องกล่าวด้วยความเคารพ. อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ชื่อว่า ภควา
เพราะอรรถว่า ทรงทำลายราคะ ทรงทำลายโทสะ ทรงทำลายโมหะ
ทรงทำลายมานะ ทรงทำลายทิฏฐิ ทรงทำลายเสี้ยนหนาม ทรงทำลาย
กิเลส เพราะอรรถว่า ทรงจำแนก ทรงจำแนกวิเศษ ทรงจำแนกเฉพาะ
ซึ่งธรรมรัตนะ เพราะอรรถว่า ทรงทำที่สุดแห่งภพทั้งหลาย เพราะอรรถว่า
มีพระกายอันอบรมแล้ว มีศีลอันอบรมแล้ว มีจิตอันอบรมแล้ว มีปัญญา
อันอบรมแล้ว อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงซ่องเสพเสนาสนะอันเป็นป่า
ละเมาะและป่าทึบ อันสงัด มีเสียงน้อย ปราศจากเสียงกึกก้อง ปราศจาก
คนผู้สัญจรไปมา เป็นที่ควรทำกรรมลับของมนุษย์ สมควรแก่วิเวก เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่ง อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา
อันมีอรรถรส ธรรมรส วิมุตติรส เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งฌาน 4 อัปปมัญญา 4
อรูปสมาบัติ 4 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.

อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งวิโมกข์ 8 อภิภายตนะ 8
(ฌานเป็นที่ตั้งแห่งความครอบงำอารมณ์) อนุปุพพวิหารสมาบัติ 9 เพราะ-
ฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสัญญาภาวนา 10 กสิณ-
มาบัติ 10 อานาปานสติสมาธิ อสุภสมาบัติ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า
ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งสติปัฏฐาน 4 สัมมัป-
ปธาน 4 อิทธิบาท 4 อินทรีย์ 5 พละ 5 โพชฌงค์ 7 อริยมรรค
มีองค์ 8 เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ภควา.
อนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีส่วนแห่งตถาคตพลญาณ 10 เวสา-
รัชญาณ 4 ปฏิสัมภิทา 4 อภิญญา 6 พุทธธรรม 6 เพราะฉะนั้น จึง
ชื่อว่า ภควา พระนามว่า ภควา นี้ พระมารดา พระบิดา พระภาดา
พระภคินี มิตร อำมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา มิได้เฉลิม
ให้ พระนามว่า ภควา นี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามมีในอรหัตผลใน
ลำดับ แห่งอรหัตมรรค) เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อมด้วยอาการทรงบรรลุ
พระสัพพัญญุตญาณ ณ ควงโพธิพฤกษ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย
ผู้ตรัสรู้แล้ว เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบดังนี้ว่า
ดูก่อนสารีบุตร.
[927] คำว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและที่นอนอันสงัด ความว่า ที่ใด
เป็นที่นั่ง คือเตียง ตั่ง ฟูก เสื่อ ท่อนหนัง เครื่องลาดด้วยหญ้า เครื่อง
ลาดด้วยใบไม้ เครื่องลาดด้วยฟาง เรียกว่าที่นั่ง เสนาสนะ คือวิหาร
เรือนมีหลังคาแถบเดียว ปราสาทเรือนมีหลังคาโล้น ถ้ำ ที่นอนและที่นั่ง

อันสงัด ว่าง เงียบ สงัด จากการเห็นรูปไม่เป็นที่สบาย จากการได้ยิน
เสียงไม่เป็นที่สบาย ฯลฯ อันสงัด ว่าง เงียบสงัด จากเบญจกามคุณ
อันไม่เป็นที่สบาย ผู้ซ่องเสพ อาศัยซ่องเสพ ซ่องเสพเสมอ ซ่องเสพเฉพาะ
ซึ่งที่นอนและที่นั่งอันสงัด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ซ่องเสพที่นั่งและ
ที่นอนอันสงัด.


ว่าด้วยสัมโพธิและธรรมอันควรแก่สัมโพธิ


[928] คำว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ . . . และซึ่งธรรมอันสมควร
ความว่า ญาณ ปัญญา ปัญญินทรีย์ ปัญญาพละ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา วิปัสสนา สัมมาทิฏฐิ ในมรรค 4 เรียกว่า
สัมโพธิ. ผู้ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้ ปรารถนาเพื่อจะตามตรัสรู้ ปรารถนา
เพื่อจะตรัสรู้เฉพาะ ปรารถนาเพื่อจะตรัสรู้พร้อม ปรารถนาเพื่อจะบรรลุ
ปรารถนาเพื่อจะถูกต้อง ปรารถนาเพื่อจะทำให้แจ้ง ซึ่งสัมโพธินั้น
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ. คำว่า ซึ่งธรรมอันสมควร
ความว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิเป็นไฉน ? ความปฏิบัติชอบ ความ
ปฏิบัติอันสมควร ความปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก ความปฏิบัติเป็นไปตาม
ประโยชน์ ความปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ความทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ ความประกอบเนื่อง ๆ ในความเป็นผู้อื่น สติสัม-
ปชัญญะ ธรรมเหล่านี้ เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ. อีกอย่างหนึ่ง
วิปัสสนาในส่วนเบื้องต้นแห่งมรรค 4 เรียกว่า ธรรมอันสมควรต่อโพธิ
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ผู้ปรารถนาสัมโพธิ... และซึ่งธรรมอันสมควร.